FAQ
ประสิทธิภาพการเบรก เกิดจาก การทำงานร่วมกันของจานเบรกและผ้าเบรก ดังนั้น ผิวสัมผัสที่ดีจึงเป็นปัจจัยหลักอีกอันหนึ่งที่ต้องพิจารณา นอกจากคุณภาพผ้าเบรก คุณภาพจานเบรก และระบบเบรก
แนวทางดำเนินการ
1. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของจานเบรก โดยจะต้องไม่บิดตัว มีความหนาที่เท่ากันทั้งชิ้นและมีผิวเรียบ ไม่มีขอบและไม่มีร่องรอยการสึกหรอที่มากผิดปกติ
2. ทำการเจียรจานเบรก ในกรณีตรวจสอบพบความไม่สมบูรณ์ แต่ต้องพิจารณาความหนาหลังการเจียร โดยกำหนดให้ความหนาที่ใช้งานได้ต้องไม่น้อยกว่าค่ามาตรฐานที่ระบุไว้
โดยปกติแล้วการเกิดเสียงจากการเบรก เกิดจากการสั่นสะเทือนของอุปกรณ์เบรกในขณะที่เบรกทำงาน เช่น คาลิปเปอร์ สปริงเบรก ชุดลูกสูบ ผ้าเบรก และจานเบรก เป็นต้น เมื่อมีชิ้นส่วนที่มีการสั่นสะเทือนมากๆ ก็จะทำให้เกิดเสียงดังในขณะเบรก
สาเหตุ
1. ความไม่สมบูรณ์ของชุดอุปกรณ์เบรกส่วนต่างๆ
2. การประกอบติดตั้งที่ผิดขั้นตอน
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. ในกรณีที่ทำการเปลี่ยนผ้าเบรกชุดใหม่ต้องมีการตรวจสอบความสมบูรณ์ของชุดเบรกทั้งหมดก่อนติดตั้ง
2. ประกอบติดตั้งผ้าเบรกอย่างถูกวิธีการ
ในกรณีผ้าเบรก Primo ได้มีการออกแบบให้มีการป้องกันการเกิดเสียงเบรกอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านของสูตรการผลิต และมีแผ่นชิมซับเสียง ติดตั้งมาให้อย่างสมบูรณ์แล้ว ทำให้สามารถลดการเกิดเสียงเบรกที่มาจากตัวผ้าเบรกได้เป็นอย่างดี
ฝุ่นเบรก คือ ฝุ่นของผ้าเบรก และจานเบรกที่มาจากการสึกหรอจากการใช้งาน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของผ้าเบรก ชนิดของจานเบรก รูปแบบการใช้งาน และความสมบูรณ์ของอุปกรณ์ระบบเบรก
สาเหตุ
1. ชนิดของผ้าเบรกนั้น ก่อให้เกิดฝุ่นดำมากเป็นปกติอยู่แล้ว เช่น Semi / Low-Metallic ที่นิยมในยุโรป
2. การสึกหรอจากการใช้งานของผ้าเบรกและจานเบรก อยู่ในเกณฑ์ที่สูง
3. เกิดอุณหภูมิสูงมากผิดปกติ บริเวณผิวสัมผัสด้านหน้าของผ้าเบรกและจานเบรก
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. ตรวจสอบความเหมาะสมของผ้าเบรกและจานเบรก ว่าสามารถรองรับรูปแบบการใช้งานหรือไม่
2. ตรวจสอบหาสาเหตุของการเกิดความร้อนสูงผิดปกติที่ผิวหน้าเบรก พร้อมทั้งแก้ไขอุปกรณ์ให้เป็นปกติ
การแบ่งแยกประเภทสูตรการผลิต
สัญลักษณ์แสดงจำนวน% ของCopper ที่ติดบนกล่อง
1. ทำการถอดปั๊มเบรกล่างและยึดจานดิสก์เบรกให้แนบกับหน้าแปลนดุมล้อและขันน็อตให้แน่น
1.1 ตรวจสอบผิวจานดิสก์เบรก ควรมีความเรียบเสมอกันไม่มีร่องลึกหรือขอบสูงไม่มีอาการเบรกไหม้เป็นจ้ำๆ หรือจานเบรกเกิดการแตกร้าว
1.2 วัดความหนาของจานดิสก์เบรก ไม่น้อยกว่าค่ามาตรฐาน
1.3 ตรวจสอบความบิดเบี้ยวของจานดิสก์เบรกด้วยไดอัลเกจ
2. การเตรียมจานดิสก์เบรกก่อนการติดตั้ง
2.1 ขัดผิวหน้าจานดิสก์เบรกให้ตัวฟิล์มที่เคลือบจานดิสก์เบรกออกเพื่อปรับผิวหน้าจานดิสก์เบรกก่อนติดตั้งผ้าเบรกใหม่
– เจียรจานดิสก์เบรกในกรณีที่จานดิสก์เบรกไม่เรียบมีร่องลึกจานดิสก์เบรกเป็นขอบ
– กรณีเปลี่ยนจานดิสก์เบรกใหม่ ควรล้างสารเคลือบผิวจานดิสก์เบรกด้วยน้ำยาทำความสะอาดเบรก
2.2 ทำความสะอาดฝุ่นเหล็กที่ผิวจานหลังการเจียรนัย โดยการขัดออกด้วยกระดาษทรายแล้วเป่าฝุ่นเศษเหล็กที่ติดที่ผิวจานออก จากนั้นจึงทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดจานเบรกหรือน้ำผสมน้ำยาทำความสะอาดทั่วไป
2.3 ใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อดันลูกสูบกลับเข้าที่
หมายเหตุ: สังเกตระดับน้ำมันเบรกในกระปุก ไม่ให้ล้นจากกระปุกน้ำมันเบรก
3. การเตรียมผ้าเบรกก่อนการติดตั้ง
3.1 เลือกผ้าดิสก์เบรกหรือแนะนำผ้าดิสก์เบรกให้ถูกต้องกับรุ่นรถและการใช้งานของลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยน
3.2 ควรตรวจสอบความสมบูรณ์ของดิสก์เบรก
– หน้าผ้าดิสก์เบรกไม่มีสิ่งสกปรกติดอยู่
– ผ้าดิสก์เบรกอยู่ในสภาพสมบูรณ์
หมายเหตุ: ตรวจสอบอุปกรณ์สำหรับติดตั้งผ้าดิสก์เบรกในชุดคาลิปเปอร์(แผ่นรองดิสก์เบรกหน้า, แผ่นซับเสียง และสปริงต่างๆ)
3.3 ทาสารหล่อลื่น(จาระบีสำหรับเบรกโดยเฉพาะ) บริเวณจุดสัมผัสที่มีการเสียดสีระหว่างดิสก์เบรกกับคาลิปเปอร์ / แผ่นซับเสียง
ในการทำงานของเบรก จะมีกระบวนการที่สำคัญ คือ การถ่ายเทฟิล์มบางๆระหว่างผ้าเบรกและจานเบรกในขณะที่มีการเบรก โดยกระบวนการนี้จะส่งผลถึงประสิทธิภาพในการเบรกโดยตรง หากมีการถ่ายเทที่ทั่วถึงเต็มพื้นที่ผิวสัมผัส ประสิทธิภาพในการเบรกก็จะสมบูรณ์
สาเหตุ
เกิดการถ่ายเทฟิล์มหนาไม่เท่ากันพื้นที่ผิวสัมผัส ระหว่างผ้าเบรกกับจานเบรก
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. ตรวจสอบการเคลื่อนที่ของผ้าเบรก และปรับปรุงให้มีความเคลื่อนที่อย่างราบเรียบไม่ติดขัด
2. ทำการขัดลบฟิล์มที่ไม่สมบูรณ์ออกแล้วทำการรันอินถ่ายเทฟิล์มใหม่ให้สมบูรณ์
หลักการรันอิน ให้เกิดประสิทธิภาพเบรกสูงสุด
1. ปรับสภาพผ้าเบรกให้พร้อมใช้งาน
2. ปรับสภาพผิวระหว่างผ้าเบรกและจานเบรก
3. ถ่ายเทฟิล์มที่เกิดจากการเบรก ระหว่างผ้าเบรกและจานเบรก
วิธีการรันอิน โดยสังเขปทั่วไป
1. ตรวจสอบความพร้อมของระบบเบรกก่อนทำการรันอิน
2. เบรกชะลอความเร็วรถ ด้วยแรงเบรกปานกลาง ที่ความเร็วประมาณ 80 km/h ให้ลดลงมาที่ 30 km/h
3. ทำซ้ำจนเกิดฟิล์มเคลือบอย่างสม่ำเสมอจนทั่วผิวจานเบรก ( โดยทั่วไป ประมาณ5-10ครั้ง )
คำเตือน ห้ามทำการเบรกอย่างรุนแรงหลายครั้งติดต่อกัน เพราะจะทำให้ผิวผ้าเบรกและผิวจานเบรกไหม้ ประสิทธิภาพการเบรกจะลดลง (ลดลงชั่วคราวหรือถาวร ขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่ได้รับ)
ถ้าเป็นการขับขี่ทั่วไปในเมืองอยู่แล้วยังจำเป็นต้องรันอินหรือไม่
การขับขี่แบบปกติ ในเมืองเป็นส่วนใหญ่ หากอุปกรณ์ระบบเบรก, จานเบรกสมบูรณ์ หากใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่มีการเตรียมสภาพผิวหน้าผ้าเบรกให้พร้อมใช้งานมาแล้ว เช่น PRIMO ก็ไม่จำเป็นต้องทำการรันอินก่อนการใช้งาน เพราะรูปแบบการใช้งานเป็นแบบปกติ ไม่ได้ใช้ความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับรถแข่ง
การทำการรันอิน ควรทำในกรณีที่รูปแบบการขับขี่เป็นแบบใช้ความเร็วสูงต่อเนื่อง และต้องการประสิทธิภาพระบบเบรกสูงสุดตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้งาน
Primo เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบมาเป็นการเฉพาะสำหรับรองรับรูปแบบการใช้งานในชีวิตประจำวัน ของผู้ขับขี่ที่เน้นความสะอาดสวยงามของอุปกรณ์เบรก ไม่เกิดเสียงรบกวนจากการเบรก มีสมรรถนะด้านการเบรก ความปลอดภัยและมาตรฐานผลิตภัณฑ์เบรกในระดับสากล
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
1. อัตราการเกิดฝุ่นเบรกต่ำมาก เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นๆในท้องตลาด
2. อัตราการเกิดเสียงเบรกต่ำมาก เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นๆในท้องตลาด
3. อัตราการกินจานเบรกต่ำมาก เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นๆในท้องตลาด
4. ผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม ออกแบบมาสำหรับประสิทธิภาพระดับสูง
Primo เป็นผ้าเบรกสูตรอะไร
• Clean Drive Formulation Design : เป็นสูตรที่อยู่ในกลุ่ม Low Copper Ceramic ซึ่งเป็น New Design Ceramic : กลุ่มเซรามิก รูปแบบใหม่
• สูตรผลิตภัณฑ์ที่เน้นความเป็นมิตรกับรถและสิ่งแวดล้อม : Clean Drive
• นวัตกรรมใหม่ล่าสุดจาก COMPACT BRAKE เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ขับขี่ที่ต้องการความนุ่มนวล เงียบ ลดฝุ่นติดล้อ และปลอดภัย
Primo เป็นมิตรกับรถและสิ่งแวดล้อมอย่างไร
• เป็นมิตรกับรถคุณ
1. ประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ระดับมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก
2. เป็นมิตร: อัตราการกินจานเบรกต่ำ และ อัตราการเกิดฝุ่นเบรกต่ำ
• เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
1. ใช้วัตถุดิบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2. สูตรการผลิต มาตรฐานควบคุมเดียวกับ America : Low Copper formulation
3. อัตราการเกิดฝุ่นเบรกต่ำก็จะสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำไปด้วย
ในช่วงเช้า จะมีความชื้นสะสมสูงมากที่ผิวหน้าผ้าเบรกและจานเบรก อันจะทำให้เกิดความไม่สมบูรณ์ของการจับกันระหว่างผ้าเบรกและจานเบรกในช่วงแรกของการใช้งาน
สาเหตุ
ความชื้นสะสมประกอบกับการเคลื่อนตัวของชุดเบรกไม่สมบูรณ์ เช่น มีความฝืด เกิดการเสื่อมในอุปกรณ์บางชิ้น เช่น ลูกยางต่างๆ ก็จะเป็นสาเหตุของการเกิดเสียงในการใช้งานช่วงเช้าได้
แนวทางการแก้ไขปัญหา
เบื้องต้นให้ทำการทดลองแตะเบรกหลายๆครั้ง เพื่อไล่ความชิ้นที่มีอยู่ที่ผิวหน้าผ้าเบรกและจานเบรก จากนั้นสังเกตว่าเสียงเบรกหายไปหรือไม่ หากเสียงเบรกหายไปก็แสดงว่ามีความฝืดที่อุปกรณ์เบรกบ้างเล็กน้อยควรทำการหล่อลื่น หากเสียงเบรกยังไม่หายไป ควรตรวจสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในระบบเบรกอย่างละเอียด
ในกรณีที่มีการแตะเบรกเบาๆ แรงกระทำที่เกิดจากการเบรกก็จะน้อยลงไปด้วย ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของชิ้นส่วนต่างๆ ในระบบเบรกได้ง่าย
สาเหตุ
1. หากมีชิ้นส่วนในระบบเบรกที่หลวมมากกว่าปกติก็จะเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดเสียงเบรกได้
2. ในทางกลับกันหากมีการเคลื่อนที่ของแกนสไลด์หรือลูกสูบเบรกที่ไม่ดี หรือมีการติดขัดจะทำให้ผิวสัมผัสระหว่างผ้าเบรกกับจานเบรกไม่สมบูรณ์ ก็จะทำให้เกิดเสียงเบรกได้เช่นกัน
แนวทางการแก้ไขปัญหา
ให้ทำการตรวจสอบและแก้ไขความสมบูรณ์ของอุปกรณ์ที่มีการเคลื่อนที่ เช่น แกนสไลด์ ชุดสปริงเบรก ลูกสูบเบรก การเคลื่อนที่ของผ้าเบรก สภาพผิวหน้าผ้าเบรกและจานเบรก เป็นต้น
เสียงที่เกิดขณะค่อยๆ ปล่อยเบรก มาจากการสั่นสะเทือน โดยที่ชุดเบรกสร้างแรงเสียดทานต่อกันเป็นจังหวะ ไม่สม่ำเสมอ ในขณะที่เราปล่อยเบรก ถึงแม้จะปล่อยแป้นเบรกจนเกือบสุดแล้ว ก็ยังคงมีแรงเสียดทานกันระหว่างผ้าเบรกและจานเบรกเกิดการจับกันเป็นจังหวะ
สาเหตุ
1. การสร้างฟิล์ม, การถ่ายเทฟิล์มระหว่างผ้าเบรกและจานเบรก เกิดขึ้นอย่างไม่สมบูรณ์
2. การเคลื่อนตัวของชุดเบรกมีการติดขัดในบางตำแหน่ง ทำให้มีการคืนตัวที่ไม่สมบูรณ์ เช่น การคืนกลับของน้ำมันเบรก , การคืนกลับของคาลิปเปอร์ , การคืนกลับของผ้าเบรก
3. ความสมบูรณ์ของจานเบรก เช่น จานเบรกเกิดการบิดตัว คดงอ หรือไม่เรียบ เป็นต้น
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. ทำการปรับหน้าผ้าเบรกและจานเบรกพร้อมทั้งรันอินใหม่ให้สมบูรณ์
2. ทำการปรับปรุงชุดอุปกรณ์เบรกให้มีการเคลื่อนตัวที่ดี
Brake pads bedding in
การรันอินผ้าเบรกอย่างถูกวิธีจะทำให้การถ่ายเทฟิล์มระหว่างผ้าเบรกและจานเบรกเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์
1. ตรวจสอบความพร้อมของระบบเบรกก่อนทำการรันอิน
2. เบรกชะลอความเร็วรถ ด้วยแรงกดเบรกปานกลาง ที่ความเร็วประมาณ 80 km/h ให้ลดลงมาที่ 30 km/h
3. ทำซ้ำจนเกิดฟิล์มเคลือบอย่างสม่ำเสมอจนทั่วผิวจานเบรก ( โดยทั่วไป ประมาณ5-10ครั้ง )
หลักการ รันอินผ้าเบรกใหม่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเบรกสูงสุด
1. ปรับสภาพความพร้อมของหน้าผ้าเบรก :: ให้ผิวหน้าผ้าเบรกพร้อมใช้งาน
2. ปรับสภาพผิว ระหว่างผ้าเบรกกับจานเบรก :: ให้ผิวหน้าผ้าเบรกแนบสนิทกับผิวจานเบรก
3. ถ่ายเทฟิล์ม จากผ้าเบรกไปสู่จานเบรก :: ให้เกิดฟิล์มเคลือบที่ผิวจานเบรก
ในขณะทำการเบรกจะมีอุปกรณ์ที่ทำงานพร้อมๆ กันหลายชิ้น เช่น คาลิปเปอร์ แกนสไลด์ ลูกสูบเบรก การเคลื่อนตัวของผ้าเบรกในชุดสปริงคาลิปเปอร์ การบีบตัวของผ้าเบรกและจานเบรก การเคลื่อนไหวของชุดช่วงล่าง เป็นต้น
อุปกรณ์ทุกส่วนที่กล่าวมา มีผลอย่างมากต่อการเกิดเสียงเบรก
สาเหตุ
เกิดความผิดปกติของการทำงานในชุดอุปกรณ์ระบบเบรกส่วนต่างๆ
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งหมด เช่น ผ้าเบรก จานเบรก ชุดคาลิปเปอร์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมสำหรับการใช้งาน
2. ประกอบติดตั้งชุดเบรกอย่างถูกวิธีการ
การตรวจสอบอุปกรณ์ภายในระบบเบรกให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
1. ตรวจสอบยางกันฝุ่นแกนสไลด์ และยางกันฝุ่น/ซีล ลูกสูบเบรก โดยสังเกตว่ามีการเสียรูป ฉีกขาด รวมถึงรั่วซึมของน้ำมันเบรก หรือมีการบวมหรือไม่
2. ตรวจสอบแกนสไลด์โดยการโยกเลื่อนชุดปั๊มเบรกล่าง โดยไม่ควรมีการติดขัดระหว่างการเคลื่อนตัวของแกนสไลด์
3. ตรวจสอบชุดแผ่นสปริงรองที่ติดตั้งกับคาลิปเปอร์ ชิ้นส่วนสปริงต้องครบถ้วน ตรวจสอบการชำรุด บิดงอเสียรูปของสปริง
4. ตรวจสอบท่ออ่อนน้ำมันเบรก
การตรวจสอบจานเบรกให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
1. ทำการถอดปั๊มเบรกล่างและยึดจานดิสก์เบรกให้แนบกับหน้าแปลนดุมล้อและขันน็อตให้แน่น
2. ตรวจสอบผิวจานดิสก์เบรก ควรมีความเรียบเสมอกันไม่มีร่องลึกหรือขอบสูงไม่มีอาการเบรกไหม้เป็นจ้ำๆ หรือจานเบรกเกิดการแตกร้าว
3. วัดความหนาของจานดิสก์เบรก ไม่น้อยกว่าค่ามาตรฐาน
4. ตรวจสอบความบิดเบี้ยวของจานดิสก์เบรกด้วยไดอัลเกจ
การใช้งานในช่วงที่มีฝนตกหรือมีน้ำขัง จะเกิดฟิล์มของน้ำที่ผิวหน้าของผ้าเบรกและจานเบรก โดยมีน้ำกั้นอยู่ตรงกลางซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดเสียงเบรกได้ และทำให้ประสิทธิภาพในการจับตัวของผ้าเบรกกับจานเบรกไม่สมบูรณ์ รวมถึงอาจเกิดอาการลื่นของผ้าเบรกในช่วงของการใช้งานนั้น จนกว่าจะมีการไล่ฟิล์มน้ำออกจากผิวหน้าจนหมด
สาเหตุ
มีความชื้นและฟิล์มน้ำกั้นระหว่างผิวหน้าผ้าเบรกและจานเบรก
แนวทางการแก้ไข
ให้ระมัดระวังการใช้งานเบรกในช่วงที่มีฝนตกหรือมีน้ำขัง พร้อมทั้งเบรกหลายๆ ครั้งเพื่อไล่ฟิล์มน้ำออกจากผิวหน้าผ้าเบรกและจานเบรก ให้ประสิทธิภาพเบรกกลับคืนมาเป็นปกติ
โดยปกติแล้ว ฝุ่นเบรกเกิดจาก การสึกหรอของผ้าเบรกและจานเบรกออกมาเป็นฝุ่นละออง และมักจะรวมตัวสะสมอยู่ในคาลิปเปอร์, จานเบรกและที่ล้อรถยนต์
สาเหตุ
1. เกิดจากการที่ฝุ่นเบรกเดิมหลุดออกมาจากชุดเบรก โดยเฉพาะกรณีที่ชุดเบรกต้องเปียกน้ำ, ลุยฝน
2. เกิดการสึกหรอมากผิดปกติของผ้าเบรกและจานเบรกจากการติดขัดของอุปกรณ์ในชุดเบรก
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. ในการเปลี่ยนผ้าเบรกชุดใหม่ควรทำความสะอาดฝุ่นเบรกเก่าออกจากระบบ เช่น จานเบรกและคาลิปเปอร์ เพราะทั้ง 2 ส่วน จะมีการสะสมของฝุ่นเบรกในปริมาณที่สูงมาก
2. ตรวจสอบหาสาเหตุของการสึกหรอที่ผิดปกติ เช่น อาการการติดขัดของส่วนต่างๆในชุดเบรก
ในส่วนของผ้าเบรก Primo ได้มีการออกแบบพิเศษให้เกิดฝุ่นจากการเบรกที่ต่ำมาก เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ที่มีความต้องการเบรกที่มีฝุ่นน้อย
การทำความสะอาดจานเบรกและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
1. ขัดผิวหน้าจานดิสก์เบรกให้ตัวฟิล์มที่เคลือบจานดิสก์เบรกออกเพื่อปรับผิวหน้าจานดิสก์เบรกก่อนติดตั้งผ้าเบรกใหม่
– เจียรจานดิสก์เบรกในกรณีที่จานดิสก์เบรกไม่มีความเรียบ, มีร่องลึก, จานดิสก์เบรกเป็นขอบ
– เปลี่ยนจานดิสก์เบรกใหม่ ควรล้างสารเคลือบผิวจานดิสก์เบรกด้วยน้ำยาทำความสะอาดเบรก
2. ทำความสะอาดฝุ่นเหล็กที่ผิวจานหลังการเจียรนัย โดยการล้างเป่าฝุ่นเศษเหล็กที่ขัดออก และทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดจานเบรก
หรือน้ำผสมน้ำยาทำความสะอาดทั่วไป
จานเบรกสึกเป็นร่องเส้นลึก คือ การสึกหรอของจานเบรกเป็นลายเส้น จากการเสียดสีของผ้าเบรกและจานเบรกเป็นจุดตามแนวรัศมี ไม่เกิดการเสียดสีแบบเต็มหน้าสัมผัส ก่อให้เกิดร่องเป็นเส้นลึกบนผิวจานเบรกให้เห็น
สาเหตุ
1. มีเศษผงของกรวดทราย,สิ่งปลอมปน แทรกเข้าไปอยู่ในผิวสัมผัสของผ้าเบรกและจานเบรก
2. เกิดความร้อนสะสมในบางตำแหน่งสูงมาก ทำให้การหล่อลื่นระหว่างผิวผ้าเบรกและจานเบรกทำได้ไม่สมบูรณ์
แนวทางการแก้ไข
1. ทำความสะอาดชุดเบรกและผิวหน้าผ้าเบรกให้ปราศจากฝุ่นทราย, สิ่งปลอมปน
2. ตรวจสอบและแก้ไขการเกิดความร้อนสูงผิดปกติ รวมถึงการเคลื่อนที่ของผ้าเบรก, แกนสไลด์, ลูกสูบ ให้มีความสมบูรณ์ไม่ติดขัด
ลักษณะจานเบรกที่ไม่สมบูรณ์ต้องเจียรก่อนการติดตั้งเบรก
1. จานเบรกที่มีการสึกหรอมีลักษณะผิวเป็นคลื่น
2. จานเบรกที่มีการสึกเป็นเส้นลึก สึกหรอผิดปกติ
3. จานเบรกที่สึกหรอมีขอบเป็นสันสูงทั้งด้านนอกและด้านใน
4. จานเบรกที่มีการบิดตัว แกว่งเสียศูนย์
5. จานเบรกที่มีความหนาทั้งชิ้นไม่เท่ากัน
ส่วนจานเบรกที่มีรอยแตกร้าว และจานเบรกที่มีความหนาต่ำกว่าค่าที่กำหนดไว้ ไม่ควรเจียร แนะนำให้ทำการเปลี่ยนเป็นจานเบรกชิ้นใหม่ก่อนการใช้งาน
ในกรณีจานดิสก์เบรกมีค่าระบุที่ค่าต่ำสุดของความหนาจานดิสก์เบรกที่ 26 มิลลิเมตร แต่จากการตรวจสอบโดยการวัดพบว่าความหนาดังกล่าวของจานเบรกอยู่ที่ 20 มิลลิเมตร ซึ่งต่ำกว่าที่กำหนดมากจึงควรเปลี่ยนจานเบรกใหม่
– ผลิตภัณฑ์ (Product) ทิ้งถังขยะรีไซเคิล กระบวนการรีไซเคิลเหล็ก
– คู่มือการใช้งาน (User manual) ทิ้งถังขยะรีไวเคิล กระบวนการรีไซเคิลกระดาษ
– กล่องบรรจุ (Packaging) ทิ้งถังขยะรีไซเคิล กระบวนการรีไซเคิลกระดาษ
– ชริงค์ฟิล์ม (Shrink Film) ทิ้งถังขยะทั่วไป
– โฟม (Foam) ทิ้งถังขยะทั่วไป
เวลาทำการ : 08.30 – 17.00 น.