ข่าวและวารสาร

ข่าวสารและสาระน่ารู้ต่างๆ

เจียรจานเบรก

เจียรจานเบรกอย่างไร?? ให้ไร้ปัญหาจุกจิก

           ก่อนหน้านี้เราเคยนำเสนอในเรื่องความสำคัญของการเจียรจานเบรกกันไป วันนี้ คอมแพ็ค เบรก จะพาทุกท่านมารู้จักกับ 7 ขั้นตอนสำคัญของการเจียรจานเบรก ที่จะช่วยให้ระบบเบรกและประสิทธิภาพการเบรกของรถยนต์มีความสมบูรณ์ ทำงานได้เป็นอย่างดีและไม่เกิดปัญหาจุกจิกตามมาครับ

1. ตรวจสอบการทำงานของระบบเบรก

    เจียรจานเบรก

               1.1 ตรวจสอบการติดขัดลูกสูบเบรกด้วยการหมุนล้อรถยนต์ว่าสามารถหมุนได้อย่างคล่องตัวตามปกติหรือไม่

    เจียรจานเบรก

               1.2 ตรวจสอบลูกปืนล้อด้วยการลองโยกล้อ โดยการจับด้านบนและด้านล่างของล้อ

    *** หากมีอาการหลวมของลูกปืน ควรทำการแก้ไขก่อนการเจียรจานเบรก เพราะจะส่งผลให้เครื่องเจียรจานไม่สามารถรีเซ็ตศูนย์ได้ อีกทั้งการตรวจสอบลูกปืนล้อเพื่อให้แน่ใจได้ว่า ลูกปืนล้อยังมีความสมบูรณ์พร้อมใช้งาน ถ้าลูกปืนล้อเสื่อมสภาพอาจทำให้เกิดอาการสั่นเวลาเบรก อาจส่งผลต่อการสึกหรอของผ้าเบรกที่ผิดปกติ

    2. ตรวจสอบความผิดปกติของจานเบรก

    เจียรจานเบรก

               2.1 ตรวจสอบผิวจานเบรก ควรมีความเรียบเสมอกัน ไม่มีร่องลึกขอบสูง จานเบรกไหม้เป็นจ้ำๆ หรือจานเบรกเกิดการแตกร้าว

    เจียรจานเบรก

               2.2 วัดความหนาของจานเบรก

    *** ควรวัดในตำแหน่งที่ต่ำที่สุดของจานเบรก หากจานเบรกมีการแตกร้าว หรือจานเบรกมีความหนาต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่จานเบรกในรุ่นนั้นๆ กำหนด ก็ควรเปลี่ยน

    เจียรจานเบรก

               2.3 ตรวจสอบความบิดเบี้ยวของจานเบรกด้วยไดอัลเกจ โดยยึดจานเบรกให้แนบกับหน้าแปลนดุมล้อและขันน๊อตให้แน่น ต้องมีค่าไม่เกิน 100 µm สำหรับรถยนต์ใช้งานทั่วไป และมีค่าไม่เกิน 120 µm สำหรับรถเชิงพาณิชย์

    *** ตรวจสอบการบิดตัวของจานเบรกและการบวมของจานเบรก เพื่อป้องกันการเกิดอาการสั่นขณะเบรก

    3. เตรียมความพร้อมจานเบรกก่อนเจียร

               3.1 ขัดทำความสะอาดดุมล้อ

    *** สนิมบริเวณดุมล้อจะส่งผลให้การประกอบติดตั้ง Adapter เอียงส่งผลให้จานเบรก หลังเจียรจานไม่เรียบและเกิดการสั่นหลังการเจียรจาน

    4. ประกอบติดตั้งเครื่องเจียรจาน

    เจียรจานเบรก

               4.1 ติดตั้ง Adapter เลือกขนาดให้เหมาะสม ทำการล็อก Adapter โดยการใช้ประแจหรือบล็อก ไม่ควรใช้บล็อกลม ควรติดตั้งน๊อตล้อให้ครบทุกตัว

    *** ไม่ควรใช้บล็อกลม เนื่องจากแรงที่ใช้ขันมากเกินไป ส่งผลให้ Adapter เกิดความเสียหายในระยะยาว และจะส่งผลให้ Adapter รวมถึงจานเบรกไม่แนบกันทั้งหน้า

    *** การที่ติดตั้งน๊อตล้อไม่ครบทุกตัวจะส่งผลให้เกิดการสั่นขณะเจียรจานได้

    เจียรจานเบรก

               4.2 ประกอบเครื่องเจียรจานเข้ากับดุมล้อ ควรปรับตั้งระยะให้ระนาบเดียวกันให้ได้มากที่สุด

    *** การติดตั้งเครื่องไม่ได้ระนาบ จะส่งผลให้ตัวเครื่องเกิดการสั่นขณะเจียร ทำให้จานเบรกหลังเจียรไม่เรียบ

    เจียรจานเบรก

               4.3 การติดตั้งใบมีดเครื่องเจียรให้ได้กึ่งกลาง และใบมีดควรอยู่ในตำแหน่งที่เจียรออกมาพร้อมๆ กัน

    *** หากใบมีดไม่อยู่ในตำแหน่งที่เท่ากัน ในขณะเจียรจานในบริเวณที่แข็งจะเกิดการสะท้านส่งผลให้จานเบรกเจียรออกมาไม่เรียบ

    เจียรจานเบรก

               4.4 ตั้งระยะตำแหน่งหยุด

    เจียรจานเบรก

               4.5 เปิดสวิตช์เครื่อง แล้วกดปุ่ม Start เพื่อให้เครื่องทำการรีเซ็ตศูนย์

    5. เจียรจานเบรกด้วยเครื่องเจียรแบบประชิด

    เจียรจานเบรก

               5.1 เจียรจานเบรก โดยการเจียรขอบด้านนอกและด้านในก่อน เนื่องจากเป็นจุดที่สูงและแข็งที่สุดของจานเบรก หากเจียรพร้อมกับผิวหน้าจานเบรกจะส่งผลให้บริเวณขอบจานเบรกเป็นส่วนที่มีเนื้อจานเยอะจนเกินไป ทำให้ให้เกิดการสะท้านอย่างหนักและผิวจานไม่เรียบในบริเวณดังกล่าว ขณะเดียวกันใบมีดจะไหม้และหมดอายุเร็วขึ้น

    เจียรจานเบรก

               5.2 ทำการเจียร โดยเริ่มจากด้านในออกมาด้านนอกและไม่ควรเจียรเนื้อจานเบรกมากจนเกินไป

    เจียรจานเบรก

               5.3 ทำการขันปรับหน้าจานเบรกหลังการเจียรจานให้เรียบยิ่งขึ้น โดยใช้กระดาษทรายเบอร์ 320

    เจียรจานเบรก

               5.4 เป่าทำความสะอาด เพื่อเอาฝุ่นผงเหล็กที่เกิดจากการเจียรและการขัดกระดาษทรายออก

    เจียรจานเบรก

               5.5 ทำการเช็ดทำความสะอาด ที่ตัวจานเพื่อนำเศษเหล็กที่เหลือออกให้หมด ด้วยน้ำยาทำความสะอาดเบรกหรือน้ำ

    *** ไม่ควรฉีดน้ำยาทำความสะอาดลงที่จานเบรกโดยตรงเพราะอาจจะทิ้งคราบสารเคมีไว้ที่หน้าจานเบรก ส่งผลให้เกิดเสียงได้ และส่งผลให้เศษเหล็กรวมกันเป็นกลุ่มก้อนมากขึ้น หากไม่เช็ดทำความสะอาดจะส่งผลให้เศษเหล็กรวมตัวกันก่อให้เกิดเสียงและกินจาน

    6. ตรวจสอบสภาพจานเบรกหลังเจียร

    เจียรจานเบรก

               6.1 ตรวจสอบผิวจานเบรกอีกครั้ง ซึ่งควรมีความหนาของจานเบรกไม่ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน

    เจียรจานเบรก

               6.2 ตรวจสอบความบิดเบี้ยวของจานเบรกด้วยไดอัลเกจ โดยต้องมีค่าไม่เกิน 100 µm สำหรับรถยนต์ใช้งานทั่วไป และมีค่าไม่เกิน 120 µm สำหรับรถเชิงพาณิชย์

    7. ทำความสะอาดหน้าสัมผัสล้อ

    เจียรจานเบรก

               7.1 ขัดทำความสะอาดหน้าสัมผัสล้อ

               ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ หากทุกท่านทำตามขั้นตอนทั้งหมดแล้ว รับรองได้เลยครับว่าประสิทธิภาพการเบรกและระบบเบรกจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบอย่างแน่นอน

    เพราะเราคือ Compact Brake ผู้เชี่ยวชาญด้านเบรกจึงรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ทุกผลิตภัณฑ์ด้วยความใส่ใจ

    และความเข้าใจของผู้ใช้งานจริงมาโดยตลอด เพื่อความปลอดภัยในตัวท่านและครอบครัว

    บทความก่อนหน้า จาระบี…สารหล่อลื่นจุดเล็กๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

    ติดตามเรื่องราวของเราได้ที่ https://www.facebook.com/CompactBrake

    เลือกซื้อผ้าเบรกกับผู้เชี่ยวชาญได้ที่ https://www.compact-brake.com

    บทความล่าสุด